รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ในปัจจุบัน ของ รถจักรไอน้ำโมกุล C56

เนื่องจากรถจักรไอน้ำโมกุล C56 บางคันถูกตัดเศษเหล็กที่โรงรถจักรทั่วประเทศ บางคันได้ตั้งเป็นอนุสรณ์ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ และบางคันได้กลับสู่ประเทศญี่ปุ่นตามลำดับดังนี้

ผ่านการใช้งานประเทศไทยและประเทศพม่า (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.000 เมตร) (Metre gauge)

ปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 จากประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยคงเหลืออยู่ 11 คัน และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน รวมทั้งหมด 12 คัน จอดเป็นอนุสรณ์ตามสถานที่ต่างๆทั้งหมด 9 คัน และยังสามารถใช้การได้ทั้งหมด 3 คัน แบ่งได้ดังนี้

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศไทยอยู่ 7 คัน

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ 1 คัน

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศพม่าอยู่ 1 คัน

ใช้การได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ 1 คัน

  • C56-44 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 735) เดิมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อรหัสรถจักร คือ C56-44 ใช้ในทางรถไฟสายมรณะ หลังสงครามครั้งที่ 2 ยุติลง รถจักรไอน้ำคันนี้ ได้ประจำการที่แขวงชุมพร จังหวัดชุมพร หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมดที่ลากจูงรถโดยสารและรถสินค้าเมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 รถจักรไอน้ำคันนี้ สังกัดสุดท้ายที่รถจักรคันนี้เคยอยู่ก่อนถูกนำกลับประเทศญี่ปุ่น คือ แขวงชุมพร โดยหลังจากที่การรถไฟได้เลิกการใช้งานรถจักรไอน้ำทุกชนิดในการลากจูงขบวนรถสินค้า,โดยสาร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 - 2520 รถจักรไอน้ำหลายต่อหลายคันก็ได้ถูกจอดทิ้งเอาไว้ตามแขวงต่างๆ บางคันก็ถูกขายเป็นเศษเหล็ก บางคันโชคดีหน่อยทีทางการได้นำไปตั้งแสดงตามสถานี หรือ สถานที่ต่างๆ รวมทั้งบางส่วนที่มีผู้ติดต่อขอซื้อเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ รถจักรไอน้ำ C56-44 หมายเลข 735 (ร.ฟ.ท.) ซึ่งได้ถูกบริษัท Oigawa Railway หรือ Daitetsu ของประเทศญี่ปุ่นซื้อไป จนสุดท้ายรถจักรคันนี้ได้ถูกนำกลับบ้านเกิดในปีพ.ศ. 2522 และเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ Oigawa Railway แห่งนี้ และถูกขยายล้อเพื่อให้สามารถลงรางรถไฟขนาด 1.067 (Cape Guage) เมตรของประเทศญี่ปุ่นได้ รวมถึงทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบสมัยใช้การในประเทศไทย โดยมีอักษร ร.ฟ.ท. อยู่บริเวณรถลำเลียงและหมายเลข 735 อยู่ด้านข้างห้องขับและด้านหน้าของตัวรถเพื่อทำขบวนรถพิเศษฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี ไทย - ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 และทำขบวนรถท่องเที่ยวในสีนี้จนถึงปี พ.ศ. 2553 ต่อมาถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 ถูกทำเป็นสีแดงและตกแต่งภายนอกทุกอย่างให้เหมือนตัวละครรถจักรไอน้ำชื่อ James the Red Engine ในการ์ตูนเรื่อง Thomas & friends และล่าสุดปี พ.ศ. 2559 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและยังคงใช้การจนถึงทุกวันนี้

ใช้การได้ในประเทศไทยอยู่ 2 คัน โดย ร.ฟ.ท.

ประเทศญี่ปุ่น (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.067 เมตร) (Cape gauge)

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ยังคงเก็บรักษาไว้ในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 20 คัน[3] ซึ่งจอดเป็นอนุสรณ์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น และบางคันยังคงอยู่ในสภาพใช้การได้ ได้แก่

  • C56-92 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟอิซูมิในจังหวัดคาโงชิมะ
  • C56-94 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะนิชิในเมืองโอมาจิ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-96 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่หมู่บ้านมินามิมากิ ในจังหวัดนางาโนะ
  • C56-98 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องโถงศตวรรษที่ 19 บริเวณสถานีรถไฟโทรกโกะซางะ ในนครเกียวโต
  • C56-99 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Dacho Dream Eco Land ในเมืองซัตสึมะเซ็นได จังหวัดคาโงชิมะ
  • C56-101 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองซากุ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-106 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะ ในเมืองฟูจู จังหวัดฮิโรชิมะ
  • C56-108 จอดอยู่ที่เมืองอุนนัง จังหวัดชิมาเนะ
  • C56-110 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโซกะ จังหวัดไซตามะ
  • C56-111 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาในเมืองทาการาซูกะ จังหวัดเฮียวโงะ
  • C56-124 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์การประชุมในเมืองอาซูมิโนะ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-126 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียนประถมโคบูจิซาวะในเมืองโฮกูโตะ จังหวัดยามานาชิ
  • C56-129 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอียามะ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-131 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองมัตสึเอะ จังหวัดชิมาเนะ
  • C56-135 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคาโต จังหวัดเฮียวโงะ
  • C56-139 ปัจจุบันใช้ทำการแสดงในส่วนของทางรถไฟสายคานางาวะริงไกในนครโยโกฮามะ จังหวัดคานางาวะ
  • C56-144 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ปราสาทโคโมโระ เมืองโคโมโระ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-149 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟคิโยซาโตะ ในเมืองโฮกูโตะ จังหวัดยามานาชิ
  • C56-150 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่หมู่บ้านฮากูบะ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-160 ปัจจุบันยังใช้การอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟเกียวโต โดยเจอาร์-เวสต์

ใกล้เคียง